วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

องค์ประกอบศิลป์




สาระสำคัญ   ศิลปะ เป็นผลผลิตที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่ได้ถ่ายทอดรูปแบบออกมาเป็นผลงานศิลปะแขนงต่างๆ ผ่านกระบวนการทางความคิด ความต้องการจากแรงกระตุ้นสิ่งเร้าภายนอก ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจของศิลปิน ได้สร้างสรรค์ผลงาน โดยการบูรณาการโครงสร้าง ส่วนประกอบของศิลปะ วัสดุ และเทคนิคกลวิธี ในการถ่ายทอดรูปแบบ คำนึงถึงหลักของการจัดองค์ประกอบศิลป์ เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณค่าทางความงาม
สาระการเรียนรู้ความหมายของศิลปะ
ศิลปะ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อสนองความต้องการของตนเองและสังคมมีคุณค่าทางความงาม
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวถึงความหมายของศิลปะ คือ ฝีมือทางการช่าง การแสดงออกให้ปรากฏขึ้น ได้อย่างงดงามน่าพึงชมและเกิดอารมณ์สะเทือนใจ
พจนานุกรมศัพท์ศิลปะอังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า ART ศิลปะ คือ ผลแห่งพลังความคิดสร้างสรรค์ ของมนุษย์ ที่แสดงออกในรูปลักษณะต่างๆให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ ตามอัจฉริยะภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์ รสนิยม และทักษะของแต่ละคนเพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี หรือความเชื่อในลัทธิศาสนา



โครงสร้างศิลปะ
โครงสร้างเกี่ยวกับงานศิลปะ แบ่งออกเป็น  2 ส่วน คือ
1.   องค์ประกอบงานศิลปะ
หมายถึง ส่วนต่างๆที่นำมาประกอบกัน ทำให้เกิดรูปแบบทางแขนงศิลปะต่างๆ ประกอบด้วย

1.1   เส้น (Line)
1.2   รูปร่าง รูปทรง (Form & Shape)
1.3   แสงและเงา (Light & Shadow)
1.4   บริเวณว่าง (Space)
1.5   สี (Color)
1.6   ลักษณะผิว (Texture)
2.   หลักการจัดองค์ประกอบงานศิลปะ
หมายถึง การจัดองค์ประกอบของงานศิลปะประเภทต่างๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ฯลฯ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์สวยงามตามหลักเกณฑ์การสร้างสรรค์ผลงาน คือ
2.1   เอกภาพ (Unity)
2.2   ความสมดุล (Balance)
2.3   สัดส่วน (Proportion)
2.4   จังหวะ (Rhythm)
2.5   ความขัดแย้ง (Contrast)
2.6   ความกลมกลืน (Harmony)
2.7   การเน้น (Emphasis)
หลักองค์ประกอบศิลป์
   องค์ประกอบศิลป์ หมายถึง การนำเอาส่วนต่างมาประกบกันทำให้เกิดรูปแบบต่างๆ ที่มีคุณค่าทางความงามในงานศิลปะแขนงต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ คือ
1.   เส้น (Line) หมายถึง จุดที่เรียงติดต่อกัน เกิดจาการลากขูด ขีด เขียนด้วยวัสดุต่างๆ ลงบนระนาบผิว ทำให้เกิดเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง เส้นเฉียง ฯลฯ สามารถให้ความรู้สึกทางตา คือการมองเห็น ก่อให้เกิดความรู้สึกที่มีความหมายต่างกัน เช่น แข็งกระด้าง อ่อนไหว เป็นต้น

 
2.   รูปร่าง รูปทรง (Form & Shape) เกิดจากการประกอบกันของเส้น
รูปทรงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
2.1   รูปทรงเรขาคณิต



2.2   รูปทรงธรรมชาติ



2.3   รูปทรงอิสระ



3.   แสงและเงา (Light & Shadow) แสงำให้มองเห็นวัตถุต่างๆ เมื่อมองกระทบวัตถุที่จะเกิดส่วนมืดในทิศทางตรงข้ามกับแสง ก่อให้เกิดความรู้สึก ลักษณะแตกต่างกัน



4.   บริเวณว่าง (Space) หมายถึง พื้นที่ว่างระหว่างวัตถุ สิ่งของที่วางโดยรอบบริเวณว่างสามารถกำหนดได้ทั้งในงานจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม สามารถสร้างบรรยากาศให้เกิดความรับรู้ได้เป็นอย่างดี


ชื่อผลงาน มิติของที่ว่าง
ชื่อศิลปิน ไชยยศ  จันทราทิตย์
เทคนิค, ขนาด แม่พิมพ์กระดาษ
ปีที่สร้างงาน 1989


5.   สี (Color) คือ ลักษณะของแสงที่ปรากฏแก่สายตาเราทำให้มองเห็นสีต่างๆ สีมีอิทธิพลเหนือจิตใจมนุษย์ จากการใช้สายตาสัมผัส จากการใช้สีในงานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ก่อให้เกิดคุณค่าทางการรับรู้ที่แตกต่างกัน



6.   ลักษณะผิว (Texture) เป็นความแตกต่างของผิวที่สัมผัสด้วยการมองเห็น ให้ความรู้สึกเรียบ ขรุขระ หยาบ ผิวมัน ด้าน ฯลฯ ในทางจิตรกรรมเป็นการสร้างภาพลวงตาด้วยลักษณะผิวที่แตกต่างกัน ในทางประติมากรรมเป็นความแตกต่างของพื้นผิว เพื่อเสริมสร้างคุณค่าทางความงาม ในทางสถาปัตยกรรม เพื่อเสริมสร้างความงาม หรือประโยชน์ใช้สอยตามความเหมาะสม
 
ส่วนประกอบศิลป์เหล่านี้ ถ้านำมาจัดวางไว้ด้วยกันอย่างมีหลักเกณฑ์ ย่อมทำให้เกิดความงดงามขึ้นได้มากกว่าการนำมาจัดวางอย่างไม่มีจุดหมาย ทุกครั้งที่ทำงานศิลปะจึงควรคำนึงถึงหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์
หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์
   หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์มีสิ่งที่ควรคำนึง ดังนี้
-   เอกภาพ
-   สมดุล
-   จุดเด่นและการเน้น
-   ความกลมกลืน
-   จังหวะ

-   เอกภาพ หมายถึง การรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ไม่แตกแยกกระจัดกระจายไปคนละทิศทางทำให้ขาดประสานสัมพันธ์กัน ในทางทัศนศิลป์เอกภาพยังเป็นส่วนที่แสดงให้เห็นเนื้อหาเรื่องราวที่ต้องการอย่างชัดเจนด้วย



-   สมดุล  หมายถึง การจัดวางองค์ประกอบศิลป์ให้มีความเหมาะสมไม่เอียงเอนไปข้างใดข้างหนึ่งของภาพ สมดุลมี 2 แบบ  คือ
   สมดุลแบบซ้าย-ขวาเท่ากัน เป็นลักษณะการจัดวางองค์ประกอบศิลป์ที่ยึดถือความเหมือนกันทุกประการทั้ง 2 ข้าง เช่น ความสมดุลของร่างกายมนุษย์ เป็นต้น
     สมดุลแบบซ้าย-ขวาไม่เท่ากัน เป็นสมดุลทางความรู้สึกในการมองเห็น โดยที่วัตถุหรือเนื้อหาในภาพไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน



-   จุดเด่นและการเน้น หมายถึง ส่วนสำคัญที่สุดของภาพที่ต้องการแสดง ซึ่งนำไปสู่การบอกเล่าเนื้อหาทั้งหมดของภาพหรือเป็นจุดที่ดึงดูดความสนใจให้มอง ในทางทัศนศิลป์จุดสนใจควรมีจุดเดียว ซึ่งอาจจะเป็นส่วนที่แสดงความสำคัญหรือมีสีสันสดใสที่สุด นอกจากนั้นยังอาจเน้นให้เกิดจุดเด่นด้วยการสร้างความแตกต่างขึ้นในภาพ จุดเด่นไม่จำเป็นต้องอยู่กลางภาพเสมอไป อาจจะอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพก็ได้

 
 
-   ความกลมกลืน เป็นสิ่งสำคัญสุดท้ายของการจัดองค์ประกอบศิลป์ ซึ่งจะขาดเสียมิได้ เพราะความกลมกลืนจะทำให้ภาพงดงาม และนำไปสู่เนื้อหาเรื่องราวที่นำมาเสนอ ความกลมกลืนมี 2 แบบ คือ
      -ความกลมกลืนแบบคล้อยตามกัน
      -ความกลมกลืนแบบขัดแย้ง





-   จังหวะ หมายถึง ระยะในการจัดวางของภาพหรือวัตถุ เช่น ลายไทย การปูกระเบื้อง
การแปลอักษรเป็นต้น



2005/Jun/25
ภาพวาดสี Poster ยามว่าง : Fairy Tales
 
 
 
 

การจัองประกอบศิลป์

การจัดองค์ประกอบทางศิลปะ  เป็น หลักสำคัญสำหรับผู้สร้างสรรค์ และผู้ศึกษางานศิลปะ
  เนื่องจากผลงานศิลปะใด ๆ ก็ตาม ล้วนมีคุณค่าอยู่  2  ประการ คือ คุณค่าทางด้านรูปทรง และ คุณค่าทางด้านเรื่องราว
   คุณค่าทางด้านรูปทรง เกิดจากการนำเอา องค์ประกอบต่าง ๆ    ของ ศิลปะ อันได้แก่  เส้น  สี  แสงและเงา  รูปร่าง  รูปทรง  พื้นผิว  ฯลฯ
   มาจัดเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความงาม  ซึ่งแนวทางในการนำองค์ประกอบต่าง ๆ มาจัดรวมกันนั้น
เรียกว่า การจัดองค์ ประกอบศิลป์ (Art Composition) โดยมีหลักการจัดตามที่จะกล่าวต่อไป
อีกคุณค่าหนึ่งของงานศิลปะ คือ คุณค่าทางด้านเนื้อหา เป็นเรื่องราว หรือสาระของผลงานที่ศิลปินผู้สร้าง สรรค์
ต้องการที่จะแสดงออกมา ให้ผู้ชมได้สัมผัส รับรู้  โดยอาศัยรูปลักษณะที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบศิลป์นั่นเอง
หรืออาจกล่าวได้ว่า ศิลปิน นำเสนอเนื้อหาเรื่องราวผ่านรูปลักษณะที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ
   ถ้าองค์ประกอบที่จัดขึ้น ไม่สัมพันธ์กับเนื้อหาเรื่องราวที่นำเสนอ งานศิลปะนั้นก็จะขาดคุณค่าทางความงามไป 
ดังนั้นการจัดองค์ประกอบศิลป์
  จึงมีความสำคัญในการสร้างสรรค์งานศิลปะเป็นอย่างยิ่ง
เพราะจะทำให้งานศิลปะทรงคุณค่า
ทางความงามอย่างสมบูรณ์

   1.1  สัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน จากรูปลักษณะตามธรรมชาต ของ คน สัตว์  พืช ซึ่งโดยทั่วไป  ถือว่า สัดส่วนตามธรรมชาติ  จะมีความงามที่เหมาะสมที่สุด      หรือจากรูปลักษณะที่เป็นการ  สร้างสรรค์ของมนุษย์ เช่น Gold section เป็นกฎในการสร้างสรรค์รูปทรงของกรีก ซึ่งถือว่า  "ส่วนเล็กสัมพันธ์กับส่วนที่ใหญ่กว่า  ส่วนที่ใหญ่กว่าสัมพันธ์กับส่วนรวม"  ทำให้สิ่งต่าง ๆ  ที่สร้างขึ้นมีสัดส่วนที่สัมพันธ์กับทุกสิ่งอย่างลงตัว

    1.2  สัดส่วนจากความรู้สึก    โดยที่ศิลปะนั้นไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อความงามของรูปทรงเพียง  อย่างเดียว แต่ยังสร้างขึ้นเพื่อแสดงออกถึง  เนื้อหา เรื่องราว ความรู้สึกด้วย  สัดส่วนจะช่วย  เน้นอารมณ์ ความรู้สึก ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ และเรื่องราวที่ศิลปินต้องการ ลักษณะเช่น  นี้ ทำให้งานศิลปะของชนชาติต่าง ๆ มีลักษณะแตกต่างกัน เนื่องจากมีเรื่องราว อารมณ์ และ  ความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกต่าง ๆ กันไป เช่น   กรีก    นิยมในความงามตามธรรมชาติเป็น  อุดมคติ เน้นความงามที่เกิดจากการประสานกลมกลืนของรูปทรง    จึงแสดงถึงความเหมือน  จริงตามธรรมชาติ ส่วนศิลปะแอฟริกันดั้งเดิม เน้นที่ความรู้สึกทางวิญญานที่น่ากลัว ดังนั้น  รูปลักษณะจึงมีสัดส่วนที่ผิดแผกแตกต่างไปจากธรรมชาติทั่วไป



1. ดุลยภาพแบบสมมาตร (Symmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาเหมือนกัน   คือ การวางรูปทั้งสองข้างของแกนสมดุล    เป็นการสมดุลแบบธรรมชาติลักษณะแบบนี้ใน   ทางศิลปะมีใช้น้อย ส่วนมากจะใช้ในลวดลายตกแต่ง ในงานสถาปัตยกรรมบางแบบ หรือ   ในงานที่ต้องการดุลยภาพที่นิ่งและมั่นคงจริง ๆ

  2. ดุลยภาพแบบอสมมาตร (Asymmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาไม่เหมือน
  กัน มักเป็นการสมดุลที่เกิดจาการจัดใหม่ของมนุษย์   ซึ่งมีลักษณะที่ทางซ้ายและขวาจะไม่   เหมือนกัน ใช้องค์ประกอบที่ไม่เหมือนกัน  แต่มีความสมดุลกัน   อาจเป็นความสมดุลด้วย   น้ำหนักขององค์ประกอบ หรือสมดุลด้วยความรู้สึกก็ได้  การจัดองค์ประกอบให้เกิดความ   สมดุลแบบอสมมาตรอาจทำได้โดย    เลื่อนแกนสมดุลไปทางด้านที่มีน้ำหนักมากว่า   หรือ   เลื่อนรูปที่มีน้ำหนักมากว่าเข้าหาแกน  จะทำให้เกิดความสมดุลขึ้น หรือใช้หน่วยที่มีขนาด
  เล็กแต่มีรูปลักษณะที่น่าสนใจถ่วงดุลกับรูปลักษณะที่มีขนาดใหญ่แต่มีรูปแบบธรรมดา

รูปแบบๆ หนึ่ง อาจเรียกว่าแม่ลาย  การนำแม่ลายมาจัดวางซ้ำ ๆ   กันทำให้เกิดจังหวะ   และถ้าจัดจังหวะให้แตกต่างกันออกไป ด้วยการเว้นช่วง หรือสลับช่วง ก็จะเกิดลวดลาย   ที่แตกต่างกันออกไป ได้อย่างมากมาย  แต่จังหวะของลายเป็นจังหวะอย่างง่าย ๆ ให้ความ   รู้สึกเพียงผิวเผิน และเบื่อง่าย เนื่องจากขาดความหมาย เป็นการรวมตัวของสิ่งที่เหมือนกัน   แต่ไม่มีความหมายในตัวเอง จังหวะที่น่าสนใจและมีชีวิต ได้แก่ การเคลื่อนไหวของ คน   สัตว์  การเติบโตของพืช  การเต้นรำ เป็นการเคลื่อนไหวของโครงสร้างที่ให้ความบันดาล   ใจในการสร้างรูปทรงที่มีความหมาย


     เนื่องจากจังหวะของลายนั้น ซ้ำตัวเองอยู่ตลอดไปไม่มีวันจบ และมีแบบรูปของการซ้ำ ที่ตายตัว  แต่งานศิลปะแต่ละชิ้นจะต้องจบลงอย่างสมบูรณ์ และมีความหมายในตัว งาน ศิลปะทุกชิ้นมีกฎเกณฑ์และระเบียบที่ซ่อนลึกอยู่ภายใน   ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน งานชิ้นใดที่แสดงระเบียบกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเกินไป งานชิ้นนั้นก็จะจำกัดตัวเอง ไม่ต่าง อะไรกับลวดลายที่มองเห็นได้ง่าย ไม่มีความหมาย ให้ผลเพียงความเพลิดเพลินสบายตา
แก่ผู้ชม 



  1. การเน้นด้วยการใช้องค์ประกอบที่ตัดกัน (Emphasis by Contrast) สิ่งที่แปลกแตก
  ต่างไปจากส่วนอื่นๆ ของงาน จะเป็นจุดสนใจ ดังนั้น การใช้องค์ประกอบที่มีลักษณะ
  แตกต่าง หรือขัดแย้ง กับส่วนอื่น ก็จะทำให้เกิดจุดสนใจขึ้นในผลงานได้ แต่ทั้งนี้ต้อง
  พิจารณาลักษณะความแตกต่างที่นำมาใช้ด้วยว่า ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันในส่วนรวม
  และทำให้เนื้อหาของงานเปลี่ยนไปหรือไม่  โดยต้องคำนึงว่า แม้มีความขัดแย้ง แตก
  ต่างกันในบางส่วน และในส่วนรวมยังมีความกลมกลืนเป็นเอกภาพเดียวกัน
  2. การเน้นด้วยการด้วยการอยู่โดดเดี่ยว (Emphasis by Isolation)  เมื่อสิ่งหนึ่งถูกแยก
  ออกไปจากส่วนอื่น ๆ ของภาพ หรือกลุ่มของมัน สิ่งนั้นก็จะเป็นจุดสนใจ   เพราะเมื่อ
  แยกออกไปแล้วก็จะเกิดความสำคัญขึ้นมา   ซึ่งเป็นผลจากความแตกต่าง    ที่ไม่ใช่แตก
  ต่างด้วยรูปลักษณะ แต่เป็นเรื่องของตำแหน่งที่จัดวาง  ซึ่งในกรณีนี้ รูปลักษณะนั้นไม่
  จำเป็นต้องแตกต่างจากรูปอื่น   แต่ตำแหน่งของมันได้ดึงสายตาออกไป    จึงกลายเป็น
  จุดสนใจขึ้นมา
  3. การเน้นด้วยการจัดวางตำแหน่ง (Emphasis by Placement) เมื่อองค์ประกอบอื่น ๆ
  ชี้นำมายังจุดใด ๆ จุดนั้นก็จะเป็นจุดสนใจที่ถูกเน้นขึ้นมา     และการจัดวางตำแหน่งที่
  เหมาะสม ก็สามารถทำให้จุดนั้นเป็นจุดสำคัญขึ้นมาได้เช่นกัน
    พึงเข้าใจว่า การเน้น ไม่จำเป็นจะต้องชี้แนะให้เห็นเด่นชัดจนเกินไป สิ่งที่จะต้อง
  ระลึกถึงอยู่เสมอ คือ เมื่อจัดวางจุดสนใจแล้ว จะต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้สิ่งอื่นมา
  ดึงความสนใจออกไป จนทำให้เกิดความสับสน  การเน้น สามารถกระทำได้ด้วยองค์
  ประกอบต่าง ๆ ของศิลปะ ไม่ว่าจะเป็น เส้น  สี แสง-เงา  รูปร่าง รูปทรง หรือ พื้นผิว
  ทั้งนี้ขึ้นอยู่ความต้องการในการนำเสนอของศิลปินผู้สร้างสรรค์


1. เอกภาพของการแสดงออก หมายถึง การแสดงออกทีมีจุดมุ่งหมายเดียว แน่นอน และมี
  ความเรียบง่าย  งานชิ้นเดียวจะแสดงออกหลายความคิด หลายอารมณ์ไม่ได้ จะทำให้สับสน
  ขาดเอกภาพ  และการแสดงออกด้วยลักษณะเฉพาตัวของศิลปินแต่ละคน ก็สามารถทำให้
  เกิดเอกภาพแก่ผลงานได

 2. เอกภาพของรูปทรง คือ การรวมตัวกันอย่างมีดุลยภาพ และมีระเบียบขององค์ประกอบ
  ทางศิลปะ เพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงหนึ่ง ที่สามารถแสดงความคิดเห็นหรืออารมณ์ของศิลปิน
  ออกได้อย่างชัดเจน เอกภาพของรูปทรง เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อความงามของผลงานศิลปะ
  เพราะเป็นสิ่งที่ศิลปินใช้เป็นสื่อในการแสดงออกถึงเรื่องราว  ความคิด และอารมณ์  ดังนั้น  กฎเกณฑ์ในการสร้างเอกภาพในงานศิลปะเป็นกฎเกณฑ์เดียวกันกับธรรมชาติ  ซึ่งมีอยู่ 2
  หัวข้อ  คือ
 1. กฎเกณฑ์ของการขัดแย้ง (Opposition) มีอยู่ 4 ลักษณะ คือ
          1.1 การขัดแย้งขององค์ประกอบทางศิลปะแต่ละชนิด  และรวมถึงการขัดแย้งกันของ
  องค์ประกอบต่างชนิดกันด้วย
          1.2 การขัดแย้งของขนาด
          1.3 การขัดแย้งของทิศทาง
          1.4 การขัดแย้งของที่ว่างหรือ จังหวะ
 2. กฎเกณฑ์ของการประสาน (Transition) คือ การทำให้เกิดความกลมกลืน ให้สิ่งต่าง ๆ
  เข้ากันด้อย่างสนิท      เป็นการสร้างเอกภาพจากการรวมตัวของสิ่งที่เหมือนกันเข้าด้วยกัน
  การประสานมีอยู่  2   วิธี  คือ
          2.1 การเป็นตัวกลาง (Transition) คือ  การทำสิ่งที่ขัดแย้งกันให้กลมกลืนกัน ด้วยการ
  ใช้ตัวกลางเข้าไปประสาน  เช่น สีขาว กับสีดำ ซึ่งมีความแตกต่าง ขัดแย้งกันสามารถทำให้
  อยู่ร่วมกันได้อย่างมีเอกภาพ   ด้วยการใช้สีเทาเข้าไปประสาน  ทำให้เกิดความกลมกลืนกัน
  มากขึ้น
          2.2 การซ้ำ (Repetition)  คือ การจัดวางหน่วยที่เหมือนกันตั้งแต่ 2 หน่วยขึ้นไป  เป็น
  การสร้างเอกภาพที่ง่ายที่สุด แต่ก็ทำให้ดูจืดชืด น่าเบื่อที่สุด

      
        นอกเหนือจากกฎเกณฑ์
หลักคือ การขัดแย้งและการประสานแล้ว ยังมีกฎเกณฑ์รอง
   อีก 2 ข้อ คือ

   1. ความเป็นเด่น (Dominance)  ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ
      1.1 ความเป็นเด่นที่เกิดจากการขัดแย้ง ด้วยการเพิ่ม หรือลดความสำคัญ   ความน่าสนใจ  ในหน่วยใดหน่วยหนึ่งของคู่ที่ขัดแย้งกัน
      1.2 ความเป็นเด่นที่เกิดจากการประสาน


  2. การเปลี่ยนแปร (Variation) คือ การเพิ่มความขัดแย้งลงในหน่วยที่ซ้ำกัน เพื่อป้องกัน
  ความจืดชืด น่าเบื่อ ซึ่งจะช่วยให้มีความน่าสนใจมากขึ้น การเปลี่ยนแปรมี  4  ลักษณะ คือ
      2.1 การปลี่ยนแปรของรูปลักษณะ
      2.2 การปลี่ยนแปรของขนาด
      2.3 การปลี่ยนแปรของทิศทาง
      2.4 การปลี่ยนแปรของจังหวะ
            การเปลี่ยนแปรรูปลักษณะจะต้องรักษาคุณลักษณะของการซ้ำไว้ ถ้ารูปมีการเปลี่ยน
  แปรไปมาก  การซ้ำก็จะหมดไป  กลายเป็นการขัดแย้งเข้ามาแทน และ  ถ้าหน่วยหนึ่งมีการ
  เปลี่ยนแปรอย่างรวดเร็ว   มีความแตกต่างจากหน่วยอื่น ๆ มาก   จะกลายเป็นความเป็นเด่น
  เป็นการสร้างเอกภาพด้วยความขัดแย้ง


วรรณสี


สีตรงข้ามมี 6 คู่ได้แก่
สีเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วง
สีแดง ตรงข้ามกับ สีเขียว
สีน้ำเงิน ตรงข้ามกับ สีส้ม
สีเขียวเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วงแดง
สีส้มเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วงน้ำเงิน
สีส้มแดง ตรงข้ามกับ สีเขียวน้ำเงิน





สีร้อน (สีอุ่น) Warm Colors


นับจากโทนสีเหลือง ชมพู แดง ส้ม ม่วง น้ำตาล สีเหล่านี้ให้ความหมายที่เร่าร้อน ก้าวร้าว มีอิทธิพลต่อการดึงดูดและกระตุ้นอารมณ์ได้ มากมายกว่าโทนสีอื่นๆ สีเหล่านี้จะใช้มากกับงานประเภท หัวหนังสือ นิตยาสาร แค้ตตาล้อก ตลอดจนป้ายโฆาราต่างๆซึ่งจะกระตุ้นความสนใจต่อผู้พบเห็นได้เร็ว


สีโทนร้อน คือสีที่ให้ความหมาย รื่นเริง สดชื่น ฉูดฉาด บาดอารมณ์


สีเย็น (Cool Colors)


เริ่มจากสีเทา ฟ้า น้ำเงิน เขียว สีโทนนี้จัดอยู่ในสีโทนเย็น ให้ อารมณ์ความรู้สึก สงบ สะอาด เย็นสบาย


ีสีขาว (White)


คือสีแห่งความสะอาด บริสุทธิ์ ไร้เดียงสา เหมือนกับสำนวนที่ ชอบพูดว่า "เด็กที่เกิดมาเหมือนผ้าขาวที่ยังไม่มีรอยแปดเปื้อน"


สีดำ (Black)


คือ สัญลักษณ์แห่งความโศกเศร้าและความตาย และบางความหมายใช้แทนความชั่วร้าย ในความหมายของคนยุโรป อเมริกา แทนความเป็นผู้ดี ขรึม มั่นคง


สีแดง (Red)


คือสีแห่งความกระตือรือร้น เร่าร้อน รุนแรง สะเทือนอารมณ์ มีพลังความสว่างโชติช่วง เป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก ดึงดูด ความสนใจ หากเป็นสีชมพู ซึ่งความเข้มของสีจะจางลงจะให้ความรู้สึกหวานโรแมนติก


ีสีเหลือง (Yellow)


คือสีแห่งความสุขสดชื่น ร่าเริงมีชีวิตชีวา เป็นสีที่เข้าได้กับทุกสี


ีสีเขียว (Green)


คือสีของต้นไม้ ใบหญ้า เป็นสัญลักษณ์ของความสงบ เรียบง่าย ความเข้มของสีเขียวให้ความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์


สีฟ้า (Blue)


คือ สีแห่งท้องฟ้าและน้ำทะเล เป็นสัญลักษณ์ของความสงบ เยือกเย็น มั่นคง แต่เต็มไปด้วยพลัง หากเป็นสีฟ้าอ่อนจะให้ความรู้สึก สดชื่น สวยงาม กระฉับกระเฉงเป็นหนุ่มสาว


ีสีม่วง (Purpke)


คือสีแห่งความลึกลับ ซ่อนเร้น เป็นสีที่มีอิทธิพลต่อจิตนาการ และความอยากรู้อยากเห็นหับเด็ก เช่น เรื่องเทพนิยายต่างๆ


สีน้ำตาล (Brown)


เป็นสีสัญลักษณ์แห่งความร่วงโรยเปรียบเสมือนต้นไม้มีใบร่วงหล่นเมื่อถึงอายุขัย เป็นสีที่ให้ความหมายดูเหมือนธรรมชาติ เช่น สีน้ำตาลอ่อนและสีแก่นของลายไม้เป็นต้น


ีสีแจ๊ด (Vivid Colors)


คือสีที่สะดุดตาเร็วมองเห็นได้ไกล โทนสีตัดกันแบบตรงข้าม เช่น แดงกับดำ เหลืองกับน้ำเงิน เขียวกับแดง ดำกับเหลืองเป็นต้น สีจำพวกนี้นิยมใช้กันมากในงานของเด็กเล่น ภัตตาคาร ร้านอาหาร ประเภทฟาสท์ฟู้ด ค่าเฟ่ ข้อเสียของสีประเภทนี้หากใช้จำนวนสีมากจะดูลายตา พร่า วิธีใช้ที่ดีควรใช้หนึ่งหรือสองสีเป็นตัวเน้นหนัก


ีสีจาง (สีอ่อน) Light Colors


ให้ความหมายที่ดูอ่อนโยน เบาหวิวเหมือนคลื่นเมฆหรือปุยฝ้าย ช่วยทำให้พื้นที่ที่แคบดูให้กว้างขึ้น โทนสีจำพวกนี้จะใช้กันมากกับเสื้อผ้า สตรี ชุดชั้นใน แฟชั่นชุดนอน ในงานศิลปะบางอย่างใช้สีอ่อน เป็นพื้นฉากหลัง เพื่อขับให้รูปทรงลอยเด่นขึ้น


สีทึบ (Dull Color)


คือสีอ่อนที่ค่อนข้างเข้มหรือสีที่เจือจางลง ให้ความรู้สึกที่ สลัวลาง มัว บางครั้งดูเหมือนฝัน และดูคลายเครียด


สีมืดทีบ (Dark Colors)


ให้ความรู้สึกหนัก แข็งแกร่ง เข้ม มีพลัง สังเกตดูได้จากสีเครื่องแต่งกายของทหาร สีสูทของผู้ชาย ชุดฟอร์มของช่าง เป็นต้น

วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บริการต่างๆในระบบอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ที่เราสามารถค้นคว้า และรับส่งข้อมูลไปมา ระหว่างกันได้ อินเทอร์เน็ตจึงมีประโยชน์สำหรับยุคสังคมและข่าวสาร ในปัจจุบันอย่างมาก อินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่ เหมือนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ส่งข้อมูลที่เราต้องการมาให้ถึงบ้านหรือที่ทำงาน ภายในไม่กี่นาที จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก โดยจัดเป็นบริการในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) คือบริการค้นหาและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดีย บนอินเทอร์เน็ตทุกประเภท ซึ่งข้อมูลและสารสนเทศอาจจัดอยู่ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ หรือ เสียงก็ได้ ข้อดีของบริการประเภทนี้คือ สามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น หรือเว็บไซด์อื่นได้ง่าย เพราะใช้วิธีการของไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) โดยมีการทำงานแบบไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูล จากเครื่องที่ให้บริการซึ่งเรียกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยอาศัยโปรแกรม ที่ใช้ดูข้อมูลเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ซึ่งผลที่ได้จะมีการแสดงเป็นไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งในปัจจุบันมีการผนวกรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยตรงตัวอย่างเช่น www.yahoo.com สามารถค้นหาและเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเรื่องราวต่างๆ เช่น การศึกษาการท่องเที่ยว โรงแรมต่าง ๆ การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เป็นต้น

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “อีเมล์” (E-mail) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน และกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถส่งข้อความ ไปยังสมาชิกที่ติดต่อด้วย โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และสามารถแนบไฟล์ข้อมูลไปพร้อมกับจดหมายได้อีกด้วย การส่งจดหมายในลักษณะนี้ จะต้องมีที่อยู่เหมือนกับการส่งจดหมายปกติ แต่ที่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เราเรียกว่า E-mail Address

การโอนย้ายข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อีกรูปแบบหนึ่ง ใช้สำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรม FTP กับ FTP Server การโอนย้ายไฟล์จาก FTP Server มายังเครื่องของผู้ใช้ เรียกว่า ดาวน์โหลด (Download) และการโอนย้ายไฟล์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ไปยังไปยัง FTP Server เรียกว่า อัพโหลด

การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) คือ บริการที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความที่ต้องการสืบค้น เข้าไป โปรแกรมจะทำการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ให้ภายในเวลาไม่กี่นาที โปรแกรมประเภทนี้เราเรียกว่าSearch Engines เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่สามารถจำชื่อเว็บไซด์ บางเว็บได้ ก็สามารถใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล ในลักษณะนี้ได้ เว็บไซด์ที่ทำหน้าที่เป็น Search Engines มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น google.com , yahoo.com , sanook.com ฯลฯ เป็นต้น

การสนทนากับผู้อื่นบนอินเทอร์เน็ต จะคล้ายกับการใช้โทรศัพท์แต่แตกต่างกันที่ เป็นการสื่อสาร ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะใช้ไมโครโฟน และลำโพงที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ในการสนทนา

กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (News Group or Use Net) เป็นบริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นลงไปบริเวณกระดานข่าวได้ มีการแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะสนใจเรื่องราวที่แตกต่างกันไป เช่นการศึกษา การท่องเที่ยว การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การเกษตร และอุตสาหกรรม เป็นต้น

การสื่อสารด้วยข้อความ IRC (Internet Relay Chat) เป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น โดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน ซึ่งจำนวนผู้ร่วมสนทนาอาจมีหลายคนในเวลาเดียวกัน ทุกคนจะเห็นข้อความ ที่แต่ละคนพิมพ์เหมือนกับว่ากำลังนั่งสนทนาอยู่ในห้องเดียวกัน โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารได้แก่โปรแกรม mIRC โปรแกรม PIRCH และโปรแกรม Comic Chat นอกจากโปรแกรม IRC แล้ว ในปัจจุบันนี้ภายในเว็บไซต์ ยังเปิดให้บริการห้องสนทนาผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ได้อีกด้วย

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบของระบบเครือข่าย
 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)



คอมพิวเตอร์แม่ข่าย 
       คอมพิวเตอร์แม่ข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน

ช่องทางการสื่อสาร
ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น


สถานีงาน
สถานีงาน (Workstation or Terminal) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ได้รับการบริการจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผล หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เป็นศูนย์กลาง เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host


อุปกรณ์ในเครือข่าย
การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้
 

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เว็บโฮสติ้ง (Web hosting)

เว็บโฮสติ้ง คือ พื้นที่การใช้งานในอินเทอร์เน็ต โดยการเช่าพื้นที่ ฮาร์ดดิสก์ในเครื่อง Server ของผู้ให้บริการ โดยเครื่อง Server นี้จะเชื่อมต่อ Internet ความเร็วสูง และ online 24 ชม.
สำหรับเว็บไซต์ทั่วไป โฮสติงมีลักษณะที่เปรียบเทียบได้เหมือนกับ ฮาร์ดดิสก์ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ฉะนั้นถ้าคุณมีพื้นที่การใช้งานโฮสติ้งที่มาก คุณก็จะสามารถเก็บ ไฟล์, รูปภาพ, เอกสาร และอื่นๆ ได้มากตามไปด้วยเช่นกัน บางครั้งเราอาจเรียกได้หลายแบบเช่น โฮสติง โฮสติ้ง เว็บโฮสติง โฮส แต่ทั้งหมดก็มีความหมายเหมือนกัน
เว็บโฮสติ้ง มี 2 แบบ คือ Windows Hosting และ Linux Hosting โดยแยกตามระบบปฏิบัติการ (OS) ที่ตัวเว็บโฮสติ้งใช้งาน ซึ่งมีอยู่ 2 ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานคือ Microsoft Windows Server และ Linux
ความแตกต่างระหว่างระบบปฏิบัติการ 2 ระบบนี้ คือ ตัว Windows Hosting สามารถใช้งานได้กับเว็บไซต์ที่เขียนโดยภาษา ASP ,ASP.net และ PHP ได้ ในขณะที่ตัว Linux Hosting สามารถใช้งานกับเว็บไซต์ที่เขียนโดยภาษา PHP ได้เท่านั้น
แต่หากเว็บไซต์ของคุณเขียนโดยใช้ HTML ก็สามารถเลือกใช้เว็บโฮสติ้งได้ทั้ง 2 แบบ โดยที่การแสดงผลของทั้ง 2 ระบบไม่ต่างกัน แต่แนะนำให้ใช้เป็น Linux Hosting เพราะจะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า