วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บริการต่างๆในระบบอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ที่เราสามารถค้นคว้า และรับส่งข้อมูลไปมา ระหว่างกันได้ อินเทอร์เน็ตจึงมีประโยชน์สำหรับยุคสังคมและข่าวสาร ในปัจจุบันอย่างมาก อินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่ เหมือนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ส่งข้อมูลที่เราต้องการมาให้ถึงบ้านหรือที่ทำงาน ภายในไม่กี่นาที จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก โดยจัดเป็นบริการในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) คือบริการค้นหาและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดีย บนอินเทอร์เน็ตทุกประเภท ซึ่งข้อมูลและสารสนเทศอาจจัดอยู่ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ หรือ เสียงก็ได้ ข้อดีของบริการประเภทนี้คือ สามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น หรือเว็บไซด์อื่นได้ง่าย เพราะใช้วิธีการของไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) โดยมีการทำงานแบบไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูล จากเครื่องที่ให้บริการซึ่งเรียกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยอาศัยโปรแกรม ที่ใช้ดูข้อมูลเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ซึ่งผลที่ได้จะมีการแสดงเป็นไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งในปัจจุบันมีการผนวกรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยตรงตัวอย่างเช่น www.yahoo.com สามารถค้นหาและเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเรื่องราวต่างๆ เช่น การศึกษาการท่องเที่ยว โรงแรมต่าง ๆ การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เป็นต้น

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “อีเมล์” (E-mail) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน และกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถส่งข้อความ ไปยังสมาชิกที่ติดต่อด้วย โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และสามารถแนบไฟล์ข้อมูลไปพร้อมกับจดหมายได้อีกด้วย การส่งจดหมายในลักษณะนี้ จะต้องมีที่อยู่เหมือนกับการส่งจดหมายปกติ แต่ที่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เราเรียกว่า E-mail Address

การโอนย้ายข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อีกรูปแบบหนึ่ง ใช้สำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรม FTP กับ FTP Server การโอนย้ายไฟล์จาก FTP Server มายังเครื่องของผู้ใช้ เรียกว่า ดาวน์โหลด (Download) และการโอนย้ายไฟล์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ไปยังไปยัง FTP Server เรียกว่า อัพโหลด

การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) คือ บริการที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความที่ต้องการสืบค้น เข้าไป โปรแกรมจะทำการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ให้ภายในเวลาไม่กี่นาที โปรแกรมประเภทนี้เราเรียกว่าSearch Engines เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่สามารถจำชื่อเว็บไซด์ บางเว็บได้ ก็สามารถใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล ในลักษณะนี้ได้ เว็บไซด์ที่ทำหน้าที่เป็น Search Engines มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น google.com , yahoo.com , sanook.com ฯลฯ เป็นต้น

การสนทนากับผู้อื่นบนอินเทอร์เน็ต จะคล้ายกับการใช้โทรศัพท์แต่แตกต่างกันที่ เป็นการสื่อสาร ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะใช้ไมโครโฟน และลำโพงที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ในการสนทนา

กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (News Group or Use Net) เป็นบริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นลงไปบริเวณกระดานข่าวได้ มีการแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะสนใจเรื่องราวที่แตกต่างกันไป เช่นการศึกษา การท่องเที่ยว การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การเกษตร และอุตสาหกรรม เป็นต้น

การสื่อสารด้วยข้อความ IRC (Internet Relay Chat) เป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น โดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน ซึ่งจำนวนผู้ร่วมสนทนาอาจมีหลายคนในเวลาเดียวกัน ทุกคนจะเห็นข้อความ ที่แต่ละคนพิมพ์เหมือนกับว่ากำลังนั่งสนทนาอยู่ในห้องเดียวกัน โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารได้แก่โปรแกรม mIRC โปรแกรม PIRCH และโปรแกรม Comic Chat นอกจากโปรแกรม IRC แล้ว ในปัจจุบันนี้ภายในเว็บไซต์ ยังเปิดให้บริการห้องสนทนาผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ได้อีกด้วย

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบของระบบเครือข่าย
 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)



คอมพิวเตอร์แม่ข่าย 
       คอมพิวเตอร์แม่ข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน

ช่องทางการสื่อสาร
ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น


สถานีงาน
สถานีงาน (Workstation or Terminal) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ได้รับการบริการจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผล หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เป็นศูนย์กลาง เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host


อุปกรณ์ในเครือข่าย
การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้
 

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เว็บโฮสติ้ง (Web hosting)

เว็บโฮสติ้ง คือ พื้นที่การใช้งานในอินเทอร์เน็ต โดยการเช่าพื้นที่ ฮาร์ดดิสก์ในเครื่อง Server ของผู้ให้บริการ โดยเครื่อง Server นี้จะเชื่อมต่อ Internet ความเร็วสูง และ online 24 ชม.
สำหรับเว็บไซต์ทั่วไป โฮสติงมีลักษณะที่เปรียบเทียบได้เหมือนกับ ฮาร์ดดิสก์ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ฉะนั้นถ้าคุณมีพื้นที่การใช้งานโฮสติ้งที่มาก คุณก็จะสามารถเก็บ ไฟล์, รูปภาพ, เอกสาร และอื่นๆ ได้มากตามไปด้วยเช่นกัน บางครั้งเราอาจเรียกได้หลายแบบเช่น โฮสติง โฮสติ้ง เว็บโฮสติง โฮส แต่ทั้งหมดก็มีความหมายเหมือนกัน
เว็บโฮสติ้ง มี 2 แบบ คือ Windows Hosting และ Linux Hosting โดยแยกตามระบบปฏิบัติการ (OS) ที่ตัวเว็บโฮสติ้งใช้งาน ซึ่งมีอยู่ 2 ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานคือ Microsoft Windows Server และ Linux
ความแตกต่างระหว่างระบบปฏิบัติการ 2 ระบบนี้ คือ ตัว Windows Hosting สามารถใช้งานได้กับเว็บไซต์ที่เขียนโดยภาษา ASP ,ASP.net และ PHP ได้ ในขณะที่ตัว Linux Hosting สามารถใช้งานกับเว็บไซต์ที่เขียนโดยภาษา PHP ได้เท่านั้น
แต่หากเว็บไซต์ของคุณเขียนโดยใช้ HTML ก็สามารถเลือกใช้เว็บโฮสติ้งได้ทั้ง 2 แบบ โดยที่การแสดงผลของทั้ง 2 ระบบไม่ต่างกัน แต่แนะนำให้ใช้เป็น Linux Hosting เพราะจะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

ขั้นตอนการสร้างเว็บไซตืของตัวเอง

ในการสร้างเว็บไซต์ ส่วนประกอบที่สำคัญคือ

       1. ชื่อโดเมน (Domain Name) คือ ชื่อเว็บไซต์ของคุณ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการบ่งบอก ว่าเว็บไซต์นั้น มีชื่อ อะไร ซึ่งโดยทั่วไป ถ้าเป็นร้านค้าออนไลน์ อาจจะนำ Brand ของคุณมาตั้งเป็น ชื่อโดเมน และ ถ้าเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับ Portfolio หรือ ประวัติบริษัท แนะนำบริษัท ก็อาจนำชื่อ บริษัท มาตั้งเป็น ชื่อโดเมน ได้ หรือ ถ้าคุณอยากจะเปิดร้านค้าออนไลน์ หรืออยากขายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ท่านก็อาจนำเอาชื่อหลักของสินค้านั้นมาตั้งเป็น ชื่อ domain ได้เหมือนกัน

       2. ไฟล์เว็บไซต์ของคุณ ( Source Code Website ) โดยทั่วไปจะเป็นไฟล์นามสกุล htm, html, php, asp, aspx ซึ่ง สำหรับ คนที่ไม่มีความรู้ในการพัฒนาเว็บไซต์ นั้น สามารถหา CMS ฟรี ต่าง ๆ มาลงเองได้เช่นกัน ซึ่งเดี๋ยวนี้ มี CMS ฟรี ๆ ดี ๆ หลายชนิด เช่น เว็บบล๊อก ( Word Press ) , เว็บร้านค้าออนไลน์ ( Opencart , Magento ) , เว็บบอร์ด ( phpBB3 , SMF ) มาติดตั้งเองได้เลบ

       3. พื้นที่เว็บไซต์ , เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) เป็นพื้นที่บน Server สำหรับเก็บไฟล์เว็บไซต์ของคุณในข้อ 2

เมื่อ มีครบ 3 ส่วนแล้ว ทำการชี้ชื่อโดเมนไปที่เว็บโฮสติ้ง จากนั้น upload file ในข้อ 2 ไปไว้ในเว็บโฮสติ้ง เท่านี้เว็บไซต์ของคุณก็ online ได้แล้วค่ะ

การมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

ชื่อโดเมน (Domain Name) ความหมายโดยทั่วไป คือ ชื่อเว็บไซต์ ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและการนำไปใช้งาน

ชื่อโดเมน (Domain Name) หมาย ถึง ชื่อที่ถูกเรียกแทนการเรียกเป็นหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IP Address) ( IP Address นั้นจะได้จากที่เราทำการใช้บริการเว็บโฮสติ้ง หรือ พื้นที่เว็บไซต์ )  เนื่องจากการจดจำหมายเลข IP ถึง 16 หลัก ทำให้ยุ่งยาก และไม่สามารถจำได้เวลาท่อง ไปในระบบอินเทอร์เน็ต จึงนำชื่อที่เป็นตัวอักษรมาใช้แทน ซึ่งมักจะเป็นชื่อที่สื่อความหมายถึง หน่วยงาน วัตถุประสงค์ เนื้อหา หรือเจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ โดยแต่ละเว็บไซต์จะมีชื่อโดเมนเฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน

หลักที่ใช้ในการตั้งชื่อ Domain name

   1. ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
   2. สามารถใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกับตัวเลข หรือเครื่องหมายขีด (-) ได้
   3. ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ ถือว่าเหมือนกัน
   4. ห้ามใช้เครื่องหมายขีด (-) นำหน้าชื่อ Domain name แต่สามารถใช้ในระหว่างคำได้
   5. ห้ามเว้นวรรคในชื่อ Domain   6. การตั้งชื่อ Domain ควรสื่อ ถึงความหมาย ของเว็บไซต์เราให้มากที่สุด เนื่องจากมีผลต่อ Search Engine ( SEO )

หลักการตั้งชื่อ domain มีความสำคัญกับเว็บไซต์เรายังไง ?

   1. การตั้งชื่อที่ง่ายต่อการจดจำ จะทำให้มีลูกค้า หรือผู้ชม เข้าเว็บไซต์เรามากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีผลกับ Search Engine ( SEO )
   2. การตั้งชื่อที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเรา จะทำให้มีลูกค้า หรือผู้ชม เข้าเว็บไซต์เรามากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีผลกับ Search Engine (SEO)

รูปแบบการตั้ง Domain Name ตามหลักการของ Internet

    มีรูปแบบ 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือ

   1. โดเมนขั้นสูงสุด - Top Level Domain เป็นรูปแบบที่ยังสามารถแบ่งได้ อีก 2 แบบย่อย คือ
          * โด เมนเนมสากล หรือ gTLD (generic Top-Level Domain Name) เป็นการจัดแบ่งตามลักษณะการใช้งาน เช่น .com, .net, .org สามารถใช้ได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นประเทศใด
          * โด เมนเนมประจำสัญชาติ หรือ ccTLD (country code Top-Level Domain Name) เป็นหลักการจัดแบ่งตามลักษณะขอบเขตทางภูมิศาสตร์ หรือชื่อประเทศ เช่น .th (ไทย) , .uk (อังกฤษ), .jp (ญี่ปุ่น), .เป็นต้น
   2. โดเมนขั้นที่สอง - Second Level Domain เป็น Sub โดเมนที่แบ่งออกจาก TLD โดยอยู่ตำแหน่งถัดจาก TLD มาทางด้านซ้ายมือ เช่น .ac สำหรับสถาบันทางการศึกษา .co สำหรับองค์กรธุรกิจ
   3. โดเมนขั้นที่ 3 - Third Level Domain เป็น Sub โดเมนที่ถูกแบ่งออกจาก SLD อีกชั้นหนึ่งและมีตำแหน่งถัดจาก SLD ทางด้ายซ้ายมือ ใช้เป็นชื่อย่อขององค์กร เช่น thaihostclub เป็นต้น